วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษากิจกรรมเศรษฐกิจของมนุษย์ในการเลือกหาแนวทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์ รวมถึงการกระจายและการบริโภคแบ่งออกเป็น 2 ภาคคือ
      1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคล ครัวเรือน เป็นการศึกษาเฉพาะส่วนย่อย ๆ ในระยะเวลาหนึ่ง ๆ
      2. เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับรวมหรือในระดับประเทศ เช่น รายได้ประชาชาติ อัตราการจ้างงาน การธนาคาร การคลัง

กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
1. การผลิต (Production) เป็นการสร้างสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์โดยให้เกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ เช่น ประโยชน์จากรูปร่าง ประโยชน์จากสถานที่ ประโยชน์จากเวลา ประโยชน์จากกรรมสิทธิ์
ปัจจัยการผลิต
ที่ดิน หมายถึงที่ดินและทรัพยากรที่อยู่ในดินและเหนือพื้นดิน ค่าตอบแทนคือ ค่าเช่า
แรงงาน หมายถึง แรงงานที่เกิดจากกำลังกายและสติปัญญาของมนุษย์ ค่าตอบแทนคือ ค่าจ้าง หรือเงินเดือน
ทุน หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ร่วมกับแรงงาน เช่น เครื่องจักร ค่าตอบแทนคือ ดอกเบี้ย
ผู้ประกอบการ ผู้ที่นำเอาปัจจัยการผลิต มาผลิตเป็นสินค้าและบริการ ค่าตอบแทนคือ กำไร
ขั้นการผลิต
การผลิตขั้นปฐมภูมิ เป็นการผลิตขั้นแรกโดยนำทรัพยากรธรรมชาติ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยใช้แรงงาน เช่น การประมง การเกษตร
การผลิตชั้นทุติยภูมิ เป็นการนำเอาผลผลิตขั้นต้น มาแปรสภาพเป็นสินค้าได้แก่ หัตถกรรม และอุตสาหกรรม
การผลิตชั้นตติยภูมิ เป็นการผลิตในรูปบริการ เช่น การขนส่ง การท่องเที่ยว การประกันภัย
          การกำหนดราคาและปริมาณการผลิต ผู้ผลิต อาจคาดคะเนผลผลิตจากการคาดคะเนอุปสงค์และอุปทานของสินค้าในตลาด
อุปสงค์ (Demand) เป็นความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ขึ้นกับราคาสินค้า
        กฎทั่วไปของอุปสงค์ คือ อุปสงค์แปรผันโดยอ้อมหรือผูกพันกับราคาสินค้าและบริการ (สินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เป็นสินค้าที่มีความยืดหยุ่นของอุปสงค์น้อย)
อุปทาน (Supply) เป็นปริมาณความต้องการที่จะขายสินค้าและบริการ ซึ่งจะขึ้นกับราคาของสินค้าและบริการ
        กฎทั่วไปของอุปทาน คือ อุปทานจะแปรผันโดยตรงกับราคาสินค้าและบริการ
ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพ
ราคาสินค้าแพงนั้น เกิดขึ้นเมื่อ อุปสงค์มากกว่าอุปทาน (ภาวะอุปสงค์ส่วนเกิน)
ราคาสินค้าถูกลง    เกิดขึ้นเมื่อ อุปทานมากกว่าอุปสงค์ (ภาวะอุปทานส่วนเกิน)
2. การบริโภค (Consumption) หมายถึงการใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการ
ชนิดของการบริโภค
2.1 ความหมายของการบริโภค การกินหรือการใช้สินค้าและบริการ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์โดยตรง
2.2 สินค้าคงทน ได้แก่ สินค้าที่เก็บไว้ใช้ได้นานเป็นปี เข่น ปากกา นาฬิกา กระเป๋า
สินค้าไม่คงทน ได้แก่ สินค้าที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปภายใน 1 ปี เช่น อาหาร น้ำมัน เชื้อเพลิง กระดาษ ถ้ารายได้ต่ำ ความสามารถในการบริโภคจะถูกจำกัดลง และถ้ามีรายได้สูง ความสามารถในการบริโภคจะสูงขึ้น
3. การกระจาย (Distribution) หมายถึงการจำนวนจ่ายแจกสินค้าและบริการ แบ่งเป็น
3.1 การกระจายสินค้าและบริการ
3.2 การกระจายสินค้าและบริการ ไปสู่ผู้บริโภค
การกระจายรายได้ เป็นการกระจายผลตอบแทนไปสู่ปัจจัยการผลิต
4. การแลกเปลี่ยน (Exchange) หมายถึง การนำสินค้าและบริการไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการอื่น หรือแลกเปลี่ยนกับสื่อกลาง จึงแบ่งออกเป็น
4.1 ความหมายของกสรแลกเปลี่ยน
4.2 วิวัฒนาการของการแลกเปลี่ยน
4.3 การแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้าการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อเงินตราหรือใช้สื่อกลาง
การแลกเปลี่ยนแบบใช้สินเชื่อ เช่น เช็ค ตั๋วแลกเงิน ดราฟท์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น