วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

การเงิน การคลัง การธนาคาร
เงิน คือ สิ่งใด ๆ ก็ตามที่สังคมยอมรับใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
หน้าที่ของเงิน
 1.เป็นเครื่องวัดมูลค่า เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต เป็นเครื่องรักษามูลค่า
ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ (รวมทั้งประเทศไทย) หันมาใช้มาตรฐานเงินตราที่เรียกว่ามาตราผสมภายใต้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยกำหนดค่าเสมอภาค เทียบกับทองคำ และเงินดอลลาร์
ค่าของเงิน
1. ค่าภายใน
2. ค่าภายนอก เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น เช่น 42 บาทเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ค่าภายใน เป็นอำนาจในการซื้อสินค้าของเงิน 1 หน่วย ถ้า 1 หน่วย ซื้อสินค้าได้มาก แสดงว่ามีค่ามาก (ค่าของเงินจะแปรผกผันกับราคาสินค้า)
       ภาวะการเงินที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ ได้แก่
 1. ภาวะเงินเฟ้อ คือ ภาวะที่เงินมีอำนาจการซื้อลดลง ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
 ผลกระทบ - ผู้เสียเปรียบคือ เจ้าหนี้ และผู้มีรายได้แน่นอน
- ผู้ได้เปรียบคือ ลูกหนี้ และนักธุรกิจ
 วิธีแก้ปัญหา - ขึ้นอัตราดอกเบี้ย และขายพันธบัตรรัฐบาล
- ใช้นโยบายงบประมาณเกินดุล ด้วยการเพิ่มภาษีอากร
 2. ภาวะเงินฝืด คือ ภาวะที่มีเงินมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินลดลง ราคาสินค้าและบริการถูกลง แต่ไม่มีคนมาซื้อ
ผลกระทบ - ผู้เสียเปรียบคือ ลูกหนี้ และนักธุรกิจ
- ผู้ได้เปรียบคือ เจ้าหนี้ และผู้มีรายได้แน่นอน
  วิธีแก้ปัญหา - ลดอัตราดอกเบี้ย และซื้อพันธบัตรรัฐบาล
- ใช้นโยบายงบประมาณขาดดุล ด้วยการลดหนี้ และเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐ
 3. ภาวะเงินตึง      คือ   ภาวะที่กระแสการเงินชะงักชะงัน มีความต้องการเงินเพื่อลงทุนเพิ่มแต่ปริมาณเงินน้อย การแก้ปัญหา   คือ   เพิ่มปริมาณเงินหรือกู้เงินมาหมุนเวียนเพิ่มอาจนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืดก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น